วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไผ่ซางนวล Dendrocalamus membranaceus Munro,

ซางนวล ซางป่า ซางดอย ชื่อพฤกษศาสตร์, : Dendrocalamus membranaceus Munro. วงศ์, : Poaceae-Gramineae.   พบมากในป่าทางภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคตะวันตก ยกเว้นภาคใต้ 

   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   
  เป็นไผ่ประเภทเหง้ากอ สูง 10-25 ม.ลำไม้ตรงอยู่รวมกันแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางลำไม้ 5-15 เซนติเมตร ปล้องยาว 20-50 เซนติเมตร เนื้อไม้หนา 0.5-2 เซนติเมตร ลำอ่อนมีนวลแป้งสีขาวปกคลุมหนาแน่น ลำแก่สีเขียวอ่อน ปล้องล่างไม่มีขน แตกกิ่งตลอดลำไม้ แต่ช่วงปล้องล่างๆกิ่งแขนงจะเล็กและไม่มีใบหรือมีน้อยแต่ขนาดจะเล็กกว่าปกติ


    กิ่งที่ข้อมีสามกิ่งหลักคือกิ่งกระโดงตรงกลางและกิ่งด้านข้างอีกสองกิ่ง  ใบค่อนข้างเล็กยาวๆคล้ายรูปไบหอก กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร กาบหุ้มหน่อและลำไม้สีน้ำตาลมีขนปกคลุมทั่วอาจน้อยหรือมากบ้างบางครั้งใบหูกาบพับลง หน่อกินได้ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม


    


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   
  นับเป็นไม้ไผ่ที่มึการใชประโยชน์จากลำไม้มากที่สุดชนิดหนึ่งของไทย ใช้ในงานก่อสร้างทำนั่งร้าน งานจักรสาน ทำแผ่นไม้ไผ่อัด ใช้ปักชายทะเลกันคลื่นเซาะชายฝั่ง และอุตสาหกรรมที่ใช้ไม้ไผ่ซางนวลมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมทำตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้จิ้มฟัน ปีละหลายล้านลำ ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ พะเยา ลำปาง เชียงราย น่าน และอุตรดิตถ์ เป็นต้น

    


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   



 ส่วนใหญ่เป็นการตัดมาจากป่าธรรมชาติแทบทั้งสิ้น มีงานวิจัยการปลูกไผ่ซางนวลเป็นแปลงใหญ่ที่พืชสวนน่าน ปรากฎว่าใช้เวลานานถึง 7 ปีกว่าจะเริ่มตัดไม้มาใช้ได้ มีกิ่งแขนงด้านล่างเยอะ บริหารจัดการตัดแต่งสางกอลำบาก และการเจรฺญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ควรมีการคัดสายพันธุ์ที่ดีและนิ่งรวมถึงต้องศึกษาในเชิงลึกมากกว่านี้อีกมากจึงจะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจต่อไป
              

     รายงานโดยอินเดียนน่าน โต้ง เช่นเคยครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างน่ะครับ ขอบคุณครับ.. ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น