วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไผ่เป๊าะน่าน ไผ่เป๊าะช่อแฮ Dendrocalamus copelandii 'Pornan'




   ไผ่เป๊าะน่าน ไผ่เป๊าะช่อแฮ ไผ่เป๊าะหวาน Dendrocalamus copelandii 'Pornan' 
 
   เป็นไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดกลาง สูง 7-15 เมตร ลำไม้ตรงอัดกันเป็นกอแน่น  ปลายลำโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-12 เซนติเมตร ปล้องยาว 20-30 เซนติเมตร เนื้อไม้หนา 0.7-2 เซนติเมตร ลำอ่อนมีนวลแป้งสีขาวปกคลุมหนาแน่น กาบหุ้มลำไม้ติดทนนาน ลำแก่สีเขียวอมเทา ลำไม้เปลาตรงไม่มีกิ่งช่วงด้านล่างของกอ จะมีกิ่งแขนงเริ่มตั้งแต่กลางลำไม้ขึ้นไป หน่อมีสีน้ำตาลอ่อนออกเหลืองแกมสีเขียวเขียว ขอบของกาบหุ้มหน่อไม้สีน้ำตาลเข้ม 


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   นิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อเป็นหลัก หน่อออกตลอดทั้งปีดกมากสามารถบังคับให้ออกหน่อได้ดีแม้ในฤดูหนาว หน่อรสชาดดีไม่ขมมาก กรอบอร่อยเป็นที่นิยม หน่อขนาด 3ขีด ถึง 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดพอดีๆขายง่าย ตัดแต่งสางกอง่ายกิ่งไม่มากและไม่รก ลำไม้ใช้ทำเล้าไก่ทำรั้วได้ดี เนื้อไม้ค่อนข้างบางแต่แข็งแกร่ง นับเป็นไผ่เศรษฐกิจที่สำคัญในแถบภาคเหนืออีกชนิดหนึ่ง 

   


   


   


   


   


   


   


   



  เพิ่มเติมข้อมูลเชิงลึกให้อีกนิดนึงครับ การแยกไผ่แม่ตะวอ กับไผ่เป๊าะช่อแฮทำได้ง่ายๆเลยครับ แม้แต่ต้นกล้าเล็กๆก็ดูออก เทคนิคง่ายๆเลยคือการลูปสัมผัสดูที่ใต้ใบ ไผ่แม่ตะวอจะสากมีขนกำมะหยี่ที่ใต้ใบชัดเจน ส่วนไผ่เป๊าะน่านเป๊าะช่อแฮนั้นไม่มีจะเรียบไปเลย อันนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวของสวนเกษตรน่านที่ใช้แยกไผ่ที่เพาะไว้ใกล้ๆกันทำให้แยกออกได้ชัดเจน โอกาสความผิดพลาดไม่เกิน 5 % ถ้าสวนใดมีทั้งสองตัวก็ทดลองดูน่ะครับ แนะนำให้ดูที่ใบอ่อนที่เพิ่งคลี่ออกมาใหม่ไม่เกินหนึ่งเดือนจะยิ่งชัดเจนครับ 


 
จากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของไผ่จำพวก Dendrocalamus copelandii จากผู้รู้ นักวิชาการเรื่องไผ่จากหลายสำนัก ข้อมูลจากชาวบ้านที่มีไผ่เหล่านี้อยู่ นั้นมีอยู่หนึ่งทฤษฏีที่น่าสนใจมากได้มาจากชาวบ้านหลายๆที่ที่เล่าต่อๆกันมาว่าไผ่เป๊าะน่าน แรกเริ่มเดิมทีเลยเป็นไผ่ที่มาจากพม่า มีปลูกกันมานานและปลูกกระจายไปมากมายทุกหมู่บ้านในจังหวัดน่านเลยก็ว่าได้ แล้วจึงมีผู้นำไปปลูกแถบจังหวัดใกล้เคียงคือแพร่ พะเยา เชียงราย แต่มีปลูกกันหนาแน่นมากที่สุดที่จังหวัดน่าน 


อันที่จริงไผ่เป๊าะช่อแฮ ไผ่เป๊าะน่าน ไผ่แม่ตะวอ ไผ่เป๊าะยักษ์นั้นมาจากบรรพบุรุษเดียวกันมีชื่อพฤกษศาสตร์คือ Dendrocalamus copelandii มีถิ่นกำเนิดแถบชายแดนไทยพม่าพบกระจายที่ จ.ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่  และใน ส.ป.ป.ลาว ในหลวงน้ำทา บ่อแก้ว เชียงขวาง ที่มีภูเขาหินปูน 

[color=blue]

ส่วนไผ่เป๊าะน่าน เป๊าะช่อแฮนั้น เป็นสายพันธุ์ย่อยที่ได้นำมาปลูกที่จังหวัดแพร่และน่าน(ไม่พบในป่าธรรมชาติจึงไม่ใช่พืชท้องถิ่น)เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วโดยชาวพม่าในช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานประมาณสองร้อยกว่าปี ตอนที่เอาเข้ามาก็คือสายพันธุ์แม่ตะวอหรือเป๊าะยักษ์แท้ๆเลย แต่พอไผ่ตายขุยเพาะเมล็ดรุ่นใหม่ๆมาสามถึงสี่ชั่วอายุก็เริ่มกลายพันธุ์มาเป็นสายพันธุ์ย่อยอย่างที่เราเห็นและรู้จักกันในนามไผ่เป๊าะน่าน ไผ่เป๊าะช่อแฮ นั่นเอง คือลักษณะภายนอกทุกอย่างเหมือนกับเป๊าะยักษ์หรือแม่ตะวอทุกประการ แต่ขนาดเล็กลงครึ่งหนึ่ง
[/color]

   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   



   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   




   


   


   


   


   


   


   


   


    


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   


   

 ประมวนภาพไผ่เป๊าะน่าน ไผ่ปลูกเพื่อผลิตหน่อนอกฤดูยอดฮิตในจังหวัดน่าน หน่อสีสวย รสชาดดี ขนาดพอเหมาะ หน่อดก บังคับง่าย สางกอง่าย ข้อมูลจากแหล่งผลิตหน่อเป๊าะ แหล่งใหญ่ของเมืองไทยครับ ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์


   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น